ภาพกิจกรรม

การเสนอโครงการ mega project “สถาบันสหวิทยาการดิจิตอลและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม 4.0”

กองนโยบายและแผน

กองนโยบายและแผน

จากการนำเสนอ ข้อมูลโครงการ mega project ขนาดใหญ่ เกี่ยวกับการแผนการจัดตั้งสถาบันใหม่ภายใต้ชื่อ “สถาบันสหวิทยาการดิจิตอลและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม 4.0” ต่อนายอินทรายุทธ จันทร์อินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณด้านการศึกษาเขต 3 สำนักงบประมาณ ซึ่งให้ความสนใจต่อโครงการและแนะนำผลแนวทางการดำเนินงานต่อผู้รับผิดชอบโครงการและทีมยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2559 มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดงานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยฯ กับบริษัทเอกชนจำนวน 4 แห่ง เพื่อตอบรับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศด้านดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Economy) และขยายความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกัน โดยบริษัทเอกชน จำนวน 4 แห่ง ได้แก่

1. บริษัท สตาร์มาร์คแมนูแฟคเชอร์ริ่ง จำกัด
2. บริษัท คูก้า โรโบติคส์ (ไทยแลนด์) จำกัด
3. บริษัท เฟสโต้ จำกัด
4. บริษัท ซีทีเอเซีย โรโบติกส์ จำกัด

บริษัททั้ง 4 แห่ง นับเป็นบริษัทชั้นนำในยุคอุตสาหกรรม 4.0 มหาวิทยาลัยฯ จึงมีแนวทางที่จะประสานความร่วมมือกับบริษัทเอกชนดังกล่าวอย่างต่อเนื่องผ่านโครงการ mega project ขนาดใหญ่ คือ สถาบันสหวิทยาการดิจิตอลและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม 4.0 โดยมีผู้รับผิดชอบโครงการ คือ รองศาสตราจารย์สุภัทรา โกไศยกานนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร/ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สหรัตน์ วงษ์ศรีษะ (รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและกายภาพ) และ ดร.ปริญญ์ บุญกนิษฐ (ผู้ช่วยอธิการดี) รวมถึงทีมยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยฯ

โดยปัจจุบัน โครงการ mega project “สถาบันสหวิทยาการดิจิตอลและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม 4.0” อยู่ในระหว่างการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นและการสร้างความร่วมมือเพิ่มเติม กับมหาวิทยาลัยในเยอรมัน และมหาวิทยาลัยฯ กำลังอยู่ระหว่างการทำแผนในการปรับปรุงศูนย์ฝึกอบรมที่อาคารเครื่องจักรกลอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระนคร ศูนย์พระนครเหนือ และแผนในการตั้งสถาบันใหม่

ส่วนในอนาคต สถาบันสหวิทยาการดิจิตอลและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม 4.0 (Input-process-output-impact) จะพัฒนานวัตกรรมบุคลากรเพื่อยกระดับศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยและเกิดเป็นศูนย์บริการวิชาการขนาดใหญ่ ในการตอบสนองความต้องการของประเทศ เพื่อตอบรับนโยบายประเทศไทย 4.0 เข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 อย่างเต็มรูปแบบ